UFABETWINS มองผ่านประวัติศาตร์และการเมือง : เหตุใด “กอล์ฟ” จึงเป็นกีฬาที่นิยมของชนชั้นนำในสังคม?

UFABETWINS กอล์ฟ คือหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะใกล้ชิดกับกีฬาประเภทนี้ ด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาล

และผู้เล่นส่วนใหญ่มักเป็นคนมีฐานะ หลายคนจึงขนานนามให้กอล์ฟเป็น “กีฬาสำหรับคนรวย” เป็นความจริงที่การเล่นกอล์ฟต้องการต้นทุนสูง ทำให้ความนิยมของกีฬาชนิดนี้ ถูกจำกัดแค่ชนชั้นนำในสังคม แต่กีฬากอล์ฟไม่ได้ถูกตีกรอบเพื่อชนชั้นนำ แค่เรื่องค่าใช้จ่าย แต่ยังรวมถึงประวัติศาสตร์, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทฤษฎี และลัทธิทางการเมือง ที่กีดกันชนชั้นอื่นออกจากกีฬานี้ Main Stand หาเหตุผลว่า เหตุใด กีฬากอล์ฟ จึงเป็นกิจกรรมอันเป็นที่นิยมของชนชั้นนำ

ในสังคม อย่างยาวนานหลายศตวรรษ ผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และทฤษฎีการเมืองที่ซ่อนอยู่ใต้พื้นหญ้า-ลูกกลมสีขาว ที่คุณอาจไม่เคยมองเห็น อุปถัมภ์โดยพระราชา กีฬากอล์ฟ มีความเกี่ยวพันกับชนชั้นนำตั้งแต่จุดเริ่มต้นในศตวรรษที่ 15 เมื่อมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ ทรงออกคำสั่งห้ามทหารเล่นกีฬากอล์ฟ และฟุตบอล ในปี 1457 ความนิยมของกีฬากอล์ฟในหมู่ราชวงศ์และขุนนาง ไม่ลดน้อยถอยลงจาก

คำสั่งดังกล่าว พระเจ้าเจมส์ที่ 4 แห่งสกอตแลนด์ ยกเลิกแบนกีฬากอล์ฟในสก็อตแลนด์ และสั่งช่างทำธนูผลิตอุปกรณ์เล่นกอล์ฟขึ้นมา ในปี 1502 ถือเป็นการซื้อขายอุปกรณ์เพื่อเล่นกีฬากอล์ฟครั้งแรกของโลก กีฬากอล์ฟ กระจายความนิยมทั่วสหราชอาณาจักร แม้แต่ผู้หญิงในราชสำนัก ยังให้ความสนใจต่อกีฬาประเภทนี้ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ถูกบันทึกว่าเป็นผู้หญิงคนแรกที่เล่นกีฬากอล์ฟ ในปี 1567 ก่อนที่จะมีข้ออนุญาตจากราชสำนัก

สกอตแลนด์ และอังกฤษ อนุญาตให้ประชากรในประเทศ สามารถเล่นกีฬากอล์ฟในวันอาทิตย์ เห็นได้ชัดว่า กีฬากอล์ฟ คือกิจกรรมพักผ่อนของชนชั้นสูงในสหราชอาณาจักร วัฒนธรรมรวมถึงองค์ประกอบของกีฬากอล์ฟ เช่น กฏกติกา, มารยาทในการแข่งขัน, สนามกอล์ฟ หรืออุปกรณ์การเล่น ล้วนมีความยุ่งยาก (ตามมุมมองของชนชั้นล่าง) และใช้ต้นทุนสูง เนื่องจากความฟุ่มเฟือย และจารีตทางสังคม ผูกติดกับชนชั้นนำในยุโรป มายาวนาน การอุปถัมภ์กีฬากอล์ฟของเหล่า

UFABETWINS

กษัตริย์ในสหราชอาณาจักร คือรากฐานสำคัญของกีฬาชนิดนี้ถึงปัจจุบัน อันนำมาซึ่งการแข่งขันกอล์ฟครั้งแรกของโลก เกิดขึ้นเมื่อปี 1681 จากความขัดแย้งระหว่าง สกอตแลนด์ กับ อังกฤษ ว่าฝั่งไหนจะเป็นผู้ถือสิทธิของกีฬากอล์ฟ พระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ คว้าชัยชนะในการแข่งขัน ขณะดำรงตำแหน่งดยุกแห่งออลบานี ร่วมกับสามัญชน จอห์น เพเตอร์สัน ที่ทำอาชีพเป็นพ่อค้าขายพาย เพเตอร์สันได้รับรางวัลเป็นเงินมหาศาล เขานำมันไปสร้างบ้านหลังใหญ่ใน

เมืองเอดินเบอระ ปัจจุบันพื้นที่ซึ่งเคยเป็นบ้านของเพเตอร์สัน รู้จักกันในชื่อ Golfers Land การแข่งขันดังกล่าวคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้กีฬากอล์ฟมีกฎกติกา เมื่อ โทมัส คินเคด นักเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ มองว่ากอล์ฟไม่ควรเป็นเพียงกิจกรรมยามว่างของขุนนาง แต่ควรมีกติกาการแข่งขันที่ชัดเจน เฉกเช่นกีฬาชนิดอื่น ปี 1744 Royal and Ancient Golf Club of St Andrews สโมสรกอล์ฟแห่งแรกของโลกถูกก่อตั้ง และมีการเขียนกฎกติกาการเล่นเป็นลายลักษณ์

อักษร ในชื่อ The ‘Articles and Laws in Playing at Golf’ โดยผู้เขียนคือกลุ่มนักกอล์ฟในเมืองเอดินเบอระ ที่เรียกตัวเองว่า The Gentlemen Golfers ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้มีความรู้ในสังคม เช่น ขุนนาง, นักศึกษา หรือนักกวี อุตสาหกรรม อาณานิคม และทุนนิยม กีฬากอล์ฟก้าวข้ามการเป็นกิจกรรมสันทนาการในสหราชอาณาจักร เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งนำมาสู่การขยายตัวลัทธิอาณานิคมของจักรวรรดิบริติช ในช่วงกลางทศวรรษที่ 19 ประเทศมากมายในเอเชีย

และแอฟริกา เช่น อินเดีย, สิงคโปร์ และแอฟริกาใต้ ตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ภายในช่วงทศวรรษ 1880s เกิดสโมสรกอล์ฟในประเทศเครือจักรภพ และอาณานิคมของจักรวรรดิบริติช ทั้ง ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, แคนาดา, อินเดีย และแอฟริกาใต้ ก่อนจะเกิดสโมสรกอล์ฟในสิงคโปร์ เมื่อปี 1891 ชาวบริติชพากีฬากอล์ฟไปทุกที่ที่พวกเขาไป รีสอร์ตหลายแห่งในยุโรปเริ่มสร้างสนามกอล์ฟ เพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวจากบริติช ชาวบริติชเอง

เริ่มถ่ายทอดวิธีทางการเล่นกอล์ฟแก่ชนชาติอื่น ผ่านชนชั้นใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แทนสังคมขุนนางหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม นั่นคือ ชนชั้นนายทุน ตามแนวคิดทุนนิยมที่กำลังเบ่งบานในภูมิภาคยุโรป ชนชั้นนายทุน ไม่มีบทบาททางการเมือง ในช่วงเวลาที่กีฬากอล์ฟยุคใหม่ถือกำเนิด การจัดตั้งสโมสรกอล์ฟในศตวรรษที่ 18 คือตัวอย่างแนวคิดจากสังคมขุนนาง ที่มีวิธีประกอบกิจการแบบผูกขาดโดยสมาคมอาชีพ แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม นายทุนสมัยใหม่

เข้ามามีอิทธิพลแทนสังคมขุนนางที่กำลังล่มสลาย กีฬากอล์ฟกระจายตัวสู่ชนชั้นพ่อค้า ที่ยกตัวเองขึ้นมาสู่การเป็นชนชั้นสูงของสังคม ก่อนพามันกระจายตัวสู่ทั่วโลก ผ่านเรือเดินสินค้าของพวกเขา ปี 1904 พ่อค้าชาจากอังกฤษ อาเธอร์ กรูม สร้างสโมสรกอล์ฟแห่งแรกในญี่ปุ่น ที่เมืองโกเบ เพื่อใช้เป็นพื้นที่คบค้ากับพ่อค้าชาวอังกฤษ และสกอตแลนด์ รายอื่น ไม่นานนัก เมื่อขุนนางญี่ปุ่นที่เดินทางไปต่างประเทศ เพื่อศึกษาอุตสาหกรรม และการค้าจากฝั่งตะวันตก

ตามนโยบายการฟื้นฟูเมจิ (Meiji Restoration) กลับมาสู่บ้านเกิด จึงได้รวมตัวกับชาวบริติชเพื่อเล่นกีฬากอล์ฟ นำมาสู่การสร้างสโมสรกอล์ฟที่เมืองโตเกียว โดยชาวญี่ปุ่น กีฬากอล์ฟ กลายเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงวัฒนธรรมระหว่าง 2 ประเทศ หลังการตั้งสโมสรกอล์ฟในต่างแดน ชนชั้นสูงของแต่ละประเทศ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก และแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างชาวบริติช ชนชั้นนำท้องถิ่น และพ่อค้า จึงรวมกลุ่มสู่สังคมเดียวกัน ด้วยการเล่นกีฬากอล์ฟ

การปฏิวัติอุตสาหกรรม, ลัทธิอาณานิคม และแนวคิดทุนนิยม สอดคล้องกับกีฬากอล์ฟถึงฐานราก สวนทางกัน กีฬากอล์ฟกับเป็นปริปักษ์ต่อชนชั้นแรงงาน และลัทธิคอมมิวนิสต์ กีฬากอล์ฟซึ่งแพร่กระจายไปยังประเทศจีน ในปี 1896 ถึงกับมีสนามกอล์ฟขนาด 9 หลุม กลางกรุงปักกิ่ง กลับถูกแบนหลัง เหมา เจ๋อ ตง ครองอำนาจในปี 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมองว่า กอล์ฟคือกีฬาของชนชั้นสูง และพ่อค้า รวมถึงมาจากการเผยแพร่ของต่างชาติผู้นิยมลัทธิจักรวรรดินิยม

UFABETWINS

ซึ่งขัดกับลัทธิเหมา ที่ให้ความสำคัญกับลัทธิคอมมิวนิสต์ และลัทธิชาตินิยม กีฬากอล์ฟจึงหายไปจากสังคมจีนนับแต่นั้น กระทั่งปี 1984 จึงเริ่มมีการเปิดใช้งานสนามกอล์ฟในประเทศจีนอีกครั้งหนึ่ง หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และประกาศปฏิรูปเศรษฐกิจ ประเทศจีนกลายเป็นทุนนิยมเผด็จการ แม้ยังสมาทานกับลัทธิคอมมิวนิสต์ทางการเมือง แต่ทางเศรษฐกิจ พวกเขาปรับเปลี่ยน ก้าวเข้าสู่การเป็นทุนนิยม ข้าราชการชาวจีนที่มีฐานะทางการเงิน และเดินทางไปต่างประเทศ

บ่อยครั้ง มองว่ากีฬากอล์ฟคือสัญลักษณ์ของความร่ำรวย หรูหรา และทันสมัย กลุ่มเศรษฐี-พ่อค้าในประเทศจีน จึงหันมานิยมกีฬากอล์ฟ ไม่ต่างจากชนชั้นนำในสหราชอาณาจักร ทั้งที่วัฒนธรรมประจำชาติ ต่างกันคนละขั้ว สถานะของกีฬากอล์ฟหลังโลกาภิวัฒน์ จึงไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการของชาวบริติช แต่เป็นกิจกรรมของชนชั้นนำทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะชนชาติไหน ทุกคนสามารถสนุกกับกีฬาชนิดนี้ได้ ด้วยข้อแม้ว่า คุณต้องมีเงินมากพอ ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ

สังคม และวัฒนธรรมนี้ สงวนเพื่อชนชั้นนำ กีฬากอล์ฟสามารถเข้าถึงง่ายขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากอาชีพนักกีฬา กลายเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทนมหาศาล และคุ้มค่าแก่การลงทุน ชนชั้นกลางจำนวนมาก จึงส่งเสริมลูกหลานให้เล่นกีฬากอล์ฟ แม้จะใช้ต้นทุนมหาศาล แต่หากประสบความสำเร็จขึ้นมา ย่อมยกระดับครอบครัวสู่ฐานะที่ดีกว่า ไม่ใช่ทุกคนที่ยินดีกับเรื่องนี้ การเล่นกอล์ฟสร้างความภูมิใจให้แก่ชนชั้นนำ ตามลัทธิชนชั้นนำ หรือ Elitism กีฬากอล์ฟควรถูกวางตัวให้เหนือ

กว่ากีฬาชนิดอื่น และจำกัดไว้แค่ชนชั้นนำของสังคม ถึงจะฟังดูใจแคบ แต่มีคนดังไม่น้อยที่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกา คือหนึ่งในนั้นคนที่เห็นด้วยกับสถานะของกีฬากอล์ฟตามลัทธิชนชั้นนำ ทรัมป์มองว่ากอล์ฟคือกีฬาระดับสูง และไม่ควรลดสถานะลงไปเป็นกีฬาเพื่อประชาชน กลับกัน ชนชั้นกลาง หรือชนชั้นล่าง ควรสร้างฐานะตัวเองให้เพรียบพร้อม เหมาะสมกับกีฬากอล์ฟ ที่มีธรรมเนียมอันควรรักษาไว้แก่ผู้มีฐานะ

และความรู้เพรียบพร้อม “ผมคิดว่ากอล์ฟควรเป็นเกมแห่งแรงบันดาลใจ เป็นบางสิ่งที่ผู้คนปรารถนา ทุกคนควรพาตัวเองเข้ามาหากีฬากอล์ฟ ไม่ใช่กอล์ฟที่ลดตัวไปหาพวกเขา” โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าว “มันอาจฟังดูเหมือนลัทธิชนชั้นนำ แต่บางทีนี่คือสิ่งที่กีฬากอล์ฟต้องการ ได้โปรดปล่อยให้กอล์ฟเป็นกีฬาของชนชั้นนำเถิด ผมต้องการเห็นผู้คนทำงานหนัก ด้วยแรงบันดาลใจว่า สักวันจะมีเงินมากพอได้เล่นกอล์ฟ แต่ตอนนี้พวกเขากำลังสอนมัน ให้กับใครก็ตามที่ไม่มีฐานะดีพอ”

“พวกเขาพยายามมากเกินไป เพราะว่า กอล์ฟมีค่าใช้จ่ายมหาศาล ต้องการที่ดินจำนวนมาก มันไม่ใช่บาสเกตบอล ที่คุณต้องการแค่แป้นบาสแล้วก็จบ” คำพูดของ โดนัลด์ ทรัมป์ ยืนยันความจริงอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟ นั่นคือ ค่าใช้จ่ายมหาศาล ไม่ใช่ในการหัดเล่น แต่การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ในปี 2010 มีรายงานว่า ชาวจีนต้องเสียเงินค่าแรกเข้า เพื่อเป็นสมาชิกของสมามกอล์ฟ เป็นจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.65 ล้านบาท ในสังคมทุนนิยม

ไม่มีวิธีไหนคัดกรอง หรือแบ่งแยกชนชั้นเท่ากับการวัดเงินในกระเป๋า เว็บไซต์ BBC เขียนบทความว่า กอล์ฟไม่ต่างจากกีฬาทั่วไปที่ต้องการแค่สนาม และบอล รวมถึงมีค่าใช้จ่ายเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ หากลงเล่นในสนามท้องถิ่น แต่บรรดาผู้นิยมกีฬากอล์ฟ กลับเสียเงินมหาศาล เพียงต้องการให้ชื่อของตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งของสโมสรกอล์ฟชื่อดัง กีฬากอล์ฟ เปรียบเสมือนเสื้อผ้าแฟชั่นที่ชนชั้นนำสวมใส่ แม้จะราคาแพง แถมยังมีประโยชน์ไม่ต่างจากเสื้อผ้าทั่วไป

แต่มันคือเครื่องประดับเพื่อบ่งบอกฐานะแก่สังคมว่า พวกเขาคือ “ชนชั้นนำ” กีฬากอล์ฟจึงสะท้อนตัวตนของชนชั้นนำ ที่มักอ้างสิทธิชอบธรรมในการครอบครองทรัพย์สินล้ำค่า ที่ชนชั้นอื่นไม่มีโอกาสสัมผัส ตามพีระมิดระบบทุนนิยม อันมีลำดับขั้นของคนในสังคมอยู่เสมอ

 

คลิ๊กเลย >>> https://www.ufabetwins.com/

อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล